การเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กเป็นการเปิดโลกแห่งความเป็นไปได้ ตั้งแต่การช่วยเหลือผู้คนค้นหาบ้านในฝันไปจนถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลกำไร โอกาสในการเติบโตและความสำเร็จไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการทำงานหนักและความทุ่มเท ธุรกิจของคุณก็สามารถเจริญรุ่งเรืองได้

รวม 20 คำศัพท์สายอสังหาฯ

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่คนสายนี้ควรรู้

ประเทศไทยสิทธิเก็บกิน

กฎหมายเกี่ยวกับการ Usufructs ในประเทศไทยจะพบในส่วน 1417 ของประเทศไทยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเก็บกินที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยให้เจ้าของเดิมที่จะรักษาความเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้ถือสิทธิเก็บกินจะได้รับอนุญาตให้เข้าและครอบครองอสังหาริมทรัพย์

Usufructs มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ประโยชน์หลักคือว่ามีความต้องการที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยสำหรับการชำระเงินสำหรับการโอนสิทธิเก็บกินสิทธิเก็บกินพร้อมใช้งานสำหรับระยะชีวิตของผู้ถือผู้ถือสิทธิเก็บกินได้รับอนุญาตให้เช่าหรือให้เช่าที่ดินและรับชำระเงินให้ตามสัญญาเช่าสิทธิเก็บกินสามารถลงทะเบียนสำหรับระยะชีวิตของผู้ถือสิทธิเก็บกิน นี้เป็นในทางตรงกันข้ามกับสัญญาเช่าตามปกติซึ่งมีระยะเวลาสูงสุด 30 ปีช่วงเวลาที่นานอาจมีความสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังมองหาชาวต่างชาติที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย.

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 โอนกรรมสิทธิ์ แบ่งที่ดินให้ญาติเพื่อบรรเทาภาระภาษีของตนเอง ต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเท่าไหร่ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูก ให้ญาติ หรือซื้อขายแตกต่างกันอย่างไร เป็นเรื่องที่เจ้าของที่ดินควรรู้ หลังจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ กำหนดอัตราภาษีให้ผู้ถือครองที่ดินต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดินมากขึ้น

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดิน หรือถือครองที่ดินมากกว่า 1 แปลง ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก ยิ่งถือครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ยิ่งเสียภาษีสูงขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนไปเสียภาษีค่าโอนที่ดินครั้งเดียว เพื่อยกให้ญาติพี่น้องช่วยกันถือครอง จึงเป็นทางออกที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีได้

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบให้โดยเสน่หา

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายแม่ต้องการยกที่ดินให้ลูก (ซึ่งลูกนั้นชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายแม่เสมอ) จะเสียภาษีโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท แม้พ่อแม่จะถือครองที่ดินเพียงไม่กี่ปี แต่ก็ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ตามข้อยกเว้นของกรมสรรพากร กรณีนี้จึงมีอัตราภาษีโอนที่ดินที่ต่ำที่สุด

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือฝ่ายพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่กำเนิด แล้วฝ่ายพ่อต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% กรณีนี้ยังได้เสียธรรมเนียมการโอนเพียง 0.5% แต่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันได และถ้าถือครองไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่เกิน 1 ปี ก็จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย  

ค่าโอนที่ดินให้ญาติฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ลูก

การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน หรือแม้แต่ยกที่ดินให้ลูกบุญธรรม หากไม่ใช่มรดกตกทอด จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% หากไม่ใช่พ่อแม่ลูกกัน แม้จะเป็นญาติสนิทเพียงใด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนการซื้อขายที่ดินตามปกติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หักค่าใช้จ่ายยืนพื้น 50% ไม่ว่าจะครอบครองมากี่ปีก็ตาม

ข้อควรระวังในการให้โดยเสน่หา

ตามปกติแล้ว การให้โดยเสน่หาจะถอนคืนไม่ได้ แต่ก็มีกรณีที่ผู้ให้ฟ้องร้องขอถอนคืนได้ เช่น ผู้รับประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง ประทุษร้าย หรือไม่สงเคราะห์เลี้ยงดูผู้ให้เมื่อยากไร้ แต่จะได้คืนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบซื้อขายตามปกติ

การซื้อขายทุกกรณี

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเมื่อซื้อขายทุกกรณี ไม่ว่าจะขายที่ดินให้ลูก หลาน พี่น้อง พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามการซื้อขายปกติ ดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง อัตราภาษีโอนที่ดินจะใช้เกณฑ์เดียวกันทุกคน แต่ภาษีจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถือครอง และการตั้งราคาขายที่สูงกว่าราคาประเมิน ก็ส่งผลให้ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสูงขึ้นด้วย

ค่าโอนที่ดินให้ญาติฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ลูก

การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน หรือแม้แต่ยกที่ดินให้ลูกบุญธรรม หากไม่ใช่มรดกตกทอด จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% หากไม่ใช่พ่อแม่ลูกกัน แม้จะเป็นญาติสนิทเพียงใด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนการซื้อขายที่ดินตามปกติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หักค่าใช้จ่ายยืนพื้น 50% ไม่ว่าจะครอบครองมากี่ปีก็ตาม

ข้อควรระวังในการให้โดยเสน่หา

ตามปกติแล้ว การให้โดยเสน่หาจะถอนคืนไม่ได้ แต่ก็มีกรณีที่ผู้ให้ฟ้องร้องขอถอนคืนได้ เช่น ผู้รับประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง ประทุษร้าย หรือไม่สงเคราะห์เลี้ยงดูผู้ให้เมื่อยากไร้ แต่จะได้คืนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบซื้อขายตามปกติ

การซื้อขายทุกกรณี

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเมื่อซื้อขายทุกกรณี ไม่ว่าจะขายที่ดินให้ลูก หลาน พี่น้อง พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามการซื้อขายปกติ ดังนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง อัตราภาษีโอนที่ดินจะใช้เกณฑ์เดียวกันทุกคน แต่ภาษีจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถือครอง และการตั้งราคาขายที่สูงกว่าราคาประเมิน ก็ส่งผลให้ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสูงขึ้นด้วย

กระบวนการซื้อ

การดูบ้าน

เราพร้อมช่วยคุณค้นหาสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับครอบครัวของคุณ เราจะแนะนำคุณสมบัติให้ดูและจองให้คุณเข้าชมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ

เงื่อนไขการเจรจาต่อรอง

เมื่อคุณพบทรัพย์สินในฝันของคุณและพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอ เราจะติดต่อผู้ขายและเจรจาเงื่อนไขที่ดีที่สุดเพื่อให้เหมาะกับงบประมาณและความต้องการของคุณ

ปิดการดูแลฟรี

เราไม่ได้ล้อเล่น นั่นหมายความว่าวิธีการปิดการขายที่กล้าหาญและมั่นใจของเราส่งผลให้คุณเดินออกไปพร้อมกับกุญแจสู่อสังหาริมทรัพย์ในฝันแห่งใหม่ของคุณ

สิ่งที่เรานำเสนอ

ทีมงานที่มีประสบการณ์

เราแต่ละคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานฝีมือของเรา เราทำงานมาหลายปีในสาขาของเรา และแต่ละคนมีความหลงใหลและวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์สำหรับทุกโครงการที่เราลงมือทำ

คุณภาพที่คุ้มค่า

เราใส่ใจเป็นอย่างมากกับทุกรายละเอียด เพราะเรารู้ว่าเรามีหน้าที่สร้างที่หลบภัยให้กับใครบางคน เราร่วมมือกับช่างฝีมือที่ดีที่สุดเพื่อรับประกันคุณภาพอันเลื่องชื่อของเรา

ผู้มีวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

เราไม่กลัวที่จะก้าวข้ามเส้นขอบฟ้า ในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์แห่งอนาคต เราจะไม่ปฏิเสธการทดลอง วัสดุที่ไม่ธรรมดา หรือการผสมผสานที่ไม่น่าเป็นไปได้

ถ้าให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาในไทยได้ คนไทยจะได้อะไร ?

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ปัจจุบันนี้ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาในประเทศในไทยได้ โดยชาวต่างชาติที่สามารถเข้ามาซื้อบ้านในไทยได้ จะต้องเป็นชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง และเป็นผู้ที่พำนักอาศัยในไทยระยะยาว โดยแยกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1.ชาวต่างชาติที่มีความมั่นคงสูง

2.ชาวต่างชาติที่เกษียณอายุ

3.ชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย

4.ชาวต่างชาติที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทย

ข้อกำหนดสำหรับชาวต่างชาติสำหรับซื้อบ้านและที่ดินในไทย

1.ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่

2.ต่างชาติสามารถซื้อที่ดินกับผู้ขายที่มีชื่ออยู่ในเอกสารแสดงสิทธิ์เท่านั้น หากมีการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ขายจำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย

3.ชาวต่างชาติที่จะซื้อที่ดิน หรือบ้านในไทยได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด และยังต้องนำเงินมาลงทุนในไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท พร้อมทั้งลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องเป็นธุรกิจที่กฎหมายกำหนดประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกัน ได้แก่

3.1 ซื้อพันธบัตร

3.2 กองทุนรวม

3.3 กองทรัสต์

3.4 ลงทุนในทุนเรือนหุ้น

3.5 ลงทุนในกิจการ 

4.ต้องเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น

5.ชาวต่างชาติจำต้องซื้ออยู่ในเขต กทม. เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตอยู่อาศัยตามกฎหมายผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหาร

6.ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดิน หรืออสังหาฯ ต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยสำหรับตนเองเท่านั้น หากมีการทำผิดเงื่อนไข หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น มีสิทธิ์ถูกดำเนินการให้ขายคืน

ข้อกำหนดสำหรับชาวต่างชาติสำหรับซื้อคอนโดในไทยชาวต่างชาติจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายได้ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่คอนโดทั้งหมดในโครงการ ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมติโครงการมีทั้งหมด 500 ห้อง ชาวต่างชาติจะถือครองได้เพียง 245 ห้องเท่านั้น

มุมมองในข้อดี

1.ได้กลุ่มคนใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อหมุนเวียนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอาจเป็นคนที่มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญกับการขับเคลื่อนของโลก ให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งรวมของผู้มีศักยภาพจากหลาย ๆ ประเทศ ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ยอมให้คนจากต่างถิ่นเข้าไปอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของประเทศ แล้วช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จนปัจจุบันกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกตอนนี้

2.ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีอัตราการเกิดที่น้อยลง ดังนั้นประชากรที่ทำงานในทุกระดับและจ่ายภาษีในประเทศก็ย่อมมีน้อยลงไปเรื่อย ๆ เช่นกัน การที่รับชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย ก็เป็นอีกหนึ่งทางในการเชิญชวนผู้มีความรู้ความสามารถ แรงงานที่มีฝีมือ เข้ามาทำงานในประเทศ และเพิ่มการเรียกเก็บภาษีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อได้

3.ลูกค้าในอนาคตคือ “ผู้สูงวัย” ประเทศเรามีจุดเด่นที่การบริการทางด้านการแพทย์ อาหาร และมีค่าครองชีพที่ต่ำ การที่ให้ผู้ที่เกษียณอายุจากต่างประเทศเข้ามาซื้ออสังหาเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลาย ก็อาจเป็นอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าสำหรับภาคธุรกิจของประเทศไทยได้ เพราะผู้สูงอายุกลุ่มที่สามารถเดินทางมาเกษียณที่ต่างประเทศได้นั้น ต้องมีกำลังซื้อที่สูง ตัวอย่างเช่น ธุรกิจการดูแลสุขภาพ อาหาร การท่องเที่ยว การแต่งบ้าน ประกันชีวิต รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ จะสามารถสร้างงาน สร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย 

4.เพิ่มกำลังซื้อจากตลาดใหม่ เพราะปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจยังถือว่าชะลอตัว กำลังซื้อของคนไทยเองก็ลดลง แต่กลุ่มชาวต่างชาติ กำลังซื้อแทบไม่เคยชะลอตัวเลยโดยเฉพาะกลุ่มของชาวจีน ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูง และเป็นลูกค้าหลักในการส่งเสริมการส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนด้านการขายและปล่อยเช่าอสังหา

5.แก้ปัญหาการทำผิดกฎหมายของชาวต่างชาติที่ใช้นอมินีแอบแฝงบังหน้า ที่ผ่านมาชาวต่างชาติที่เข้ามาเป็นเจ้าของอสังหาในประเทศไทย มักใช้วิธีการสมรสกับคนไทย หรือซื้อขายผ่านบริษัทนอมินี โดยมีตัวแทนจัดตั้งบริษัทเป็นคนไทย แต่เจ้าของจริง ๆ คือชาวต่างชาติ การออกมาตรการณ์นี้อาจช่วยแก้ปัญหาการทำผิดกฎหมายของชาวต่างชาติ เปรียบเสมือนการนำเรื่องที่อยู่ใต้ดินมาอยู่บนดิน และจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง

มุมมองข้อเสีย

1.ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อาจมีราคาที่แพงขึ้น เพราะเจ้าของธุรกิจอสังหาก็ยิ่งอยากขายให้กับชาวต่างชาติ อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลทำให้คนไทยได้รับผลกระทบเต็ม ๆ ถ้าใครที่ยังไม่มีที่ดินหรืออสังหาของตัวเอง ก็ยิ่งทำให้มีอสังหาเป็นของตัวเองยากขึ้น 

2.อาจกระตุ้นเม็ดเงินได้ไม่มากนักเท่าที่ควร นักวิเคราะห์เศรษฐกิจของไทยหลายคนมองว่า หากลองวิเคราะห์ 4 กลุ่มศักยภาพที่ตั้งเกณฑ์ไว้ เป็นไปได้ว่ามาตรการณ์นี้จะดึงดูด “ชาวต่างชาติที่มีความมั่นคงสูง” ได้มากที่สุด เพราะมีความสามารถในการลงทุน แต่กลุ่มอื่นอาจมีไม่มากนัก

3.ข้อมูลของระบบราชการไทยยังมีช่องโหว่ ชาวต่างชาติอาจเข้ามาซื้อที่ดิน หรือ อสังหา แต่ดันแอบเอาไปทำธุรกิจ ซึ่งปัญหานี้แก้ไขได้ยาก เพราะข้อมูลของระบบราชการไทย ยังไม่สามารถติดตามได้ขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาลต้องมีมาตรการณ์กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง 

4.จากมุมมองของนักวิชาการบางคน ก็เป็นห่วงในเรื่องของไหลทะลักเข้ามาซื้อที่ดินและอสังหาของชาวต่างชาติ เลยมีการเปรียบเปรยว่าอาจทำให้ประเทศไทยบางส่วนกลายเป็นอาณานิคมของชาวต่างชาติไปเลยก็ได้

แล้วจะทำอย่างไรให้คนไทยได้ประโยชน์จากมาตรการณ์นี้

1.รัฐบาลควรกำหนดราคาที่ดินและอสังหาที่ชาวต่างชาติซื้อได้ให้ชัดเจน ซึ่งต้องไม่กระทบกับผู้ซื้อคนไทยที่มีงบประมาณจำกัด และวางเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าในอนาคตราคาบ้านจะต้องไม่แพงขึ้น คนไทยยังสามารถซื้อได้ และควรออกมาตรการณ์การเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างและอาคารแก่ชาวต่างชาติให้เป็นธรรมและครอบคลุมที่สุด

2.รัฐบาลควรสื่อสารกับประชาชนให้รู้ถึงระยะเวลาของมาตรการณ์ ว่าจะใช้ถึงเมื่อไหร่ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็ต้องลองทบทวนดูกันว่ามาตรการณ์นี้ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นจริงไหม เพื่อไม่ให้เป็นเกิดความกังวลและเป็นข้อกังขากับประชาชนที่ตั้งคำถามจากมาตรการณ์นี้

แน่นอนว่ามาตรการนี้ก็มีบทวิเคราะห์ออกมามากมาย มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมาคอยติดตามดูกันว่ามาตรการณ์ที่ให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินและอสังหาในไทยได้นี้ จะเป็นผลดีต่อประเทศและประชาชนคนไทยมากแค่ไหน และเราพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อหาโอกาสและประโยชน์จากมาตรการณ์นี้มากน้อยเพียงใด

ถ้าให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาในไทยได้ คนไทยจะได้อะไร ?